Powered By Blogger

เทคโนโลยีสื่อสารต่างๆ (บรรยายโดยนิสิต BM)

Wimax "นางสาว เตือนใจ ราณะเรศ"
3G "นางสาว ทรัสตี สุวรรณทา"
Bluetooth "นาย ภูริชญ์ ลัฐิกาพงศ์ "
CDMA "นาย วรงกรณ์ อารีย์"
GSM "นาย สุขสันต์ เชียงการ"
Microwave "นางสาว สุจิตรา สามติ๊บ"
CDMA "นางสาว สุพิชฌาย์ บินซอและฮ์"
Cellular "นางสาว ศิริกัญญา วงศ์ประสิทธิ์"
Wimax "นาย กิติพงษ์ ชัยยะ"
Wifi "นางสาว อัญชลี ทิพย์ปลูก"
Satellite "นางสาว ดาราวรรณ แก้วเอี่ยม"
Optic fiber "นาย วนากรณ์ เหมบุตร"

8/09/2552

อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์


  • โมเด็ม (Modem) ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณดิจิตอล ให้เป็นสัญญาณเสียงหรือเปลี่ยนกลับสัญญาณจาก Analog Signal ให้เป็น digital signal

  • มัลติเพล็กซ์เซอร์ (multiplexer) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรวมข้อมูล มีการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งปลายทางและที่ปลายทางจะทำหน้าที่แยกข้อมูล ส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการ การติดต่อ

  • คอนเซนเดรเตอร์ (Concentrator) เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง มีหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงกับความเร็วต่ำได้ การส่งข้อมูลเป็นแบบอซิงโครนัส

  • ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่เช่นเดียวกับมัลติเพล็กซ์เซอร์

  • รีพีตเตอร์ (Repeater) มีหน้าที่เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่ายเพื่อส่งสัญญาณในระยะไกล เพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณ ข้อจำกัด คือทำหน้าที่ในการส่งต่อสัญาณที่ได้มาเท่านั้น

  • บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับวงแลน 2 วงเข้าด้วยกันสามารถขยายขอบเขตของเครือข่ายออกไปได้เรื่อยๆ

  • เราท์เตอร์ (Router) อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน อาจเป็นเครือข่ายเดียวกันหรือต่างเครือข่ายกันก้ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย เรียกว่า IWU (Inter Working Unit) คือ เราท์เตอร์และบริดจ์

  • เกทเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เครือข่าย 2 เครือข่ายที่มีลักษณะต่างกัน สามารถสื่อสารกันได้เหมือนกับเป็นเครือข่ายเดียวกัน

ช่องทางการสื่อสารข้อมูล

ในการสื่อสารข้อมูลมีช่องทางการสื่อสาร โดยอาศัยสื่อกลาง ในการส่งผ่านข้อมูล 2 ระบบคือ
ช่องทางสื่อสารแบบไร้สาย (Wire communication Networks) เป็นสื่อกลางที่ต้องมีสาย เป็นลวดตัวนำฉนวนแบบต่างๆ ได้แก่


สายคู่บิดเกลียว (Twisted-pair)


สายโคแอคเชียล (Coaxial Cable)


สายใยแก้วนำแสง (Fiber-Optic Cable)
ช่องทางสื่อสารแบบไร้สาย (wireless Transmission) คือ การส่งสัญญาณผ่านอวกาศโดยไม่ต้องใช้สื่อกลางที่มีลักษณะเป็นสาย
  1. ระบบไมโครเวฟ (Mircrowave)
  2. ระบบดาวเทียม (Satellite Systems)
  3. ระบบเซลลูลาร์ (Cellular Telephone) อ่านต่อ....





การสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง การถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้สง่และผู้รับ โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร
วิธึการนำส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ แล้วส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์เข้าใจได้

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม จำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังนี้
  1. ผู้ส่งข่าวสาร
  2. ผู้รับข่าวสาร
  3. ช่องสัญาณ
  4. การเข้ารหัส
  5. การถอดรหัส
  6. สัญญาณรบกวน อ่านต่อ....


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล

ระบบฐานข้อมูล (Database System) ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกียวกับระบบงานต่างๆร่วมกันได้

หลักการเบื้องต้นในการจัดการกับฐานข้อมูล
  • Data file คือการจัดเก็บข้อมูลไว้เป็นชุดและจัดเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลเพื่อดำเนินงานเฉพาะ
  • Database คือ การรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน และกำหนดรูปแบบของการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ข้อมูลนั้นจะเก็บไว้ที่ส่วนกลาง

โครงสร้างของแฟ้มข้อมูล

  • บิต (Bit) ประกอบไปด้วยเลขฐาน2 หน่วยที่ใช้จะมีค่า 0 และ 1 เท่านั้น
  • ไบต์ (Byte) การนำเอาบิตมาเรีบงกัน 8 ตัว เพื่อให้ได้อักขระหนึ่งตัว
  • ฟิลด์ (Field) การนำเอาอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันเพื่อให้เกิดความหมาย
  • เรคคอร์ด (Record) กลุ่มของฟิลด์ที่สัมพันธ์กันมารวมกันทำให้เกิดข้อมูลขึ้นมา
  • ไฟล์ (File) กลุ่มของเรคคอร์ดที่สัมพันธ์กัน เช่น แฟ้มประวัตินิสิต เป็นต้น

ชนิดของข้อมูล

  • ข้อมูลชนิดข้อความ (Text)
  • ข้อมูลชนิดที่เป็นรูปแบบ (Formatted Data)
  • ข้อมูลชนิดรูปภาพ (Images)
  • ข้อมูลชนิดเสียง (Audio)
  • ข้อมูลชนิดภาพและเสียง (Video)

ประเภทของแฟ้มข้อมูล

  • แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File)
  • แฟ้มข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction File)
  • แฟ้มข้อมูลตาราง (Table File)
  • แฟ้มข้อมูลเรียงลำดับ (Sort File)
  • แฟ้มข้อมูลรายงาน (Report File)

ชนิดของฐานข้อมูล

  1. จำนวนผู้ใช้ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ single user Multi user
  2. สถานที่ตั้งของฐานข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ Centralize database Distributed database
  3. ชนิดของการใช้งานของระบบฐานข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ Operational database Decision support database อ่านต่อ....

8/07/2552

ระบบคอมพิวเตอร์



ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ส่วน คือ

  • ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ อุปกรณที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่มองเห็นและจับต้องได้ เช่น ฮาร์ดดิกส์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น แป้นพิมพ์ และเมาส์

หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processor Unit) หรือ CPU เป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3ส่วน คือ 1.หน่วยควบคุม 2.หน่วยตรรกะ 3.หน่วยความจำ

หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท


1.แรม (Ramdom Access Memory : RAM) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว จะเก็บข้อมูลเฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้า ถ้าไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลจะหายไป

2.รอม (Read Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว การเก็บข้อมูลไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง


หน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output Unit) ทำหน้าที่ แสดงผลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์


  • ซอฟต์แวร์ (Software) คือ กลุ่มของชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามที่ต้องการโดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่งและมีโปรแกรมเมอร์(Programmer) เป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนซอฟแวร์ต่างๆขึ้นมา สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1.ซอฟต์แวร์ระบบ 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
  • บุคลากร (Peopleware) คือ บุคคลที่สำคัญเป็นผู้ที่เกี่ยวของกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  • ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information) คือ รายละเอียด ข้อเท็จจริง อ่านต่อ....



วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

  • ประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณขึ้นมา เรียกว่า ลูกคิด (Abacus)

ลูกคิด

  • พ.ศ. 2158 John Napier ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการคำนวณขึ้นมาเรียกว่า Napier's Bones เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณ

  • พ.ศ. 2173 วิลเลียม ออตเทรต ได้ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนวณ นับได้ว่าเป็นพื้นฐานของการสร้างคอมพิวเตอรืแบบอนาลอก

  • พ.ศ. 2185 เบลส์ ปาสคาล ได้ประดิษฐ์เครื่องบวกเลขเครื่องแรกได้สำเร็จ โดยใช้หลักการหมุนของฟันเฟืองเข้าช่วยในการทดเลขที่มีการบวกในหลักหน่วยและเกินกว่า9 วึ่งเรียกการประดิษฐ์นี้ว่า "Pascaline Caculator"

"Pascaline Caculator"



  • พ.ศ. 2214 กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ได้ปรับปรุงเครื่องคิดเลขปาสคาล ที่สามารถคูณ หาร และหารากที่ 2 ได้


กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ


  • พ.ศ. 2288 โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด ชาวฝรั่งเศสได้คิด เครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรูควบคุมการทดผ้า

บัตรเจาะรู


  • พ.ศ. 2365 ชาร์ล แบบเบจ ได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่า เครื่องหาผลต่าง เพื่อใช้คำนวณและพิมพ์ ค่าทางตรีโกณมิติและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ และได้สร้าง เครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Analytical Engine อ่านต่อ....